วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการศึกษากับการพัฒนาครู



เทคโนโลยีการศึกษากับการพัฒนาครู

"เทคโนโลยีการศึกษา" คือ การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด  วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการซับซ้อนของการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นมาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาทางการศึกษา                       

การพัฒนาครูคือ ความสามารถในการผนึกความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) แรงจูงใจ (Motivation)  ทัศนคติ (Attitude)  และคุณลักษณะส่วนตัวของบุคคลเข้าด้วยกัน แล้วแสดงออกในเชิงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน ในบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่นและมีประสิทธิภาพ  ประกอบด้วยสมรรถนะ 9 ด้านคือ ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาสำหรับครู การวัดและประเมินผลทางการศึกษา การบริหารจัดการห้องเรียน การวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และความเป็นครู

จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า
1.ครูต้องมีความสามารถและใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยได้อย่างดี
2.ครูจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางเพื่อสามารถตัดสินที่จะเลือกนวัตกรรมจากมุมมองที่หลากหลาย
3.ครูต้องมีสมรรถภาพในการเป็นนักออกแบบระบบการเรียนการสอน และช่วยในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


การผนวกเอาเทคโนโลยีการศึกษากับการพัฒนาครูมารวมกันนั้นเพื่อประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาครูเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมาจัดทำเป็นสื่อการสอนที่ทันสมัย ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียน เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น





 

ประโยชน์ของ Weblog กับการเรียนการสอน




ประโยชน์ของ Weblog กับการเรียนการสอน






โดยทั่วไป Weblog มีประโยชน์ ดังนี้

1. ใช้เป็นเว็บส่วนตัวหรือสาธารณก็ได้

2. ไม่ต้องใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ชั้นสูงก็สามารถทำได้
3. ไม่ต้องขอพื้นที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหมือนเว็บไซต์ทั่วไป
4. สามารถบรรจุภาพนิ่ง เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวเหมือนเว็บไซต์ทั่วไป
5. สามารถใช้งานหรือปรับแต่งให้สวยงามได้ด้วยตนเอง
6. นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้ดี
7. สำหรับ Web blog ของ Blogger สามารถบรรจุบทความได้ถึง 999 บทความ
8. สามารถสร้างองค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับการทำงานได้หลากหลาย เช่น ตัวเลขนับผู้         เข้าชม (counter) กระดานข่าว (web board) สไลด์ (slides) คลิปวีดีทัศน์ (video clip)
9. สามารถกำหนดผู้ชมตามที่ต้องการได้
10.สามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆได้ตามต้องการ

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ Weblog ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในวงการศึกษามีการนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้เป็นอย่างดี Weblog สามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้ตลอดเวลาทุกสถานที่ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถค้นคว้าความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนได้จากเว็บไซต์อื่นได้มากมายมหาศาล ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงสาระของเนื้อหาที่สอนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว  ข่าวสารความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่สนใจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง  ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างความรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว  เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้  เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมากขึ้น
จากประโยชน์ที่กล่าวมาการสื่อสารในโลกไร้พรมแดนอย่างอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในแวดวงการศึกษา อย่างการสร้าง blog ก็เป็นการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และทัศนคติต่างๆ จากผู้คนในแหล่งเรียนรู้ที่ต่างกันเพื่อมานำเสนอให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำประโยชน์เหล่านัน้ไปต่อยอดเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลกับเทคโนโลยีการศึกษา


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลกับเทคโนโลยีการศึกษา



               สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นสถานที่หนึ่งที่ไม่ใช้ให้ความรู้ด้านทะเลเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีการศึกษาอีกด้วย อาจมีข้อสงสัยว่า สถาบันวิทยาศาสตร์ท้องทะเลจะมีส่วนจัดแสดงใดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลย         จากรายวิชา เทคโนโลยีการศึกษา ในหัวข้อสื่อการสอน วัสดุกราฟิก จะพบว่าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีวัสดุกราฟิกมากมาย เช่น ป้ายตู้ไฟ ที่แสดงภาพและชื่อของสัตว์น้ำแต่ละชนิด แผนภูมิชนิดต่างๆ แผ่นภูมิวิวัฒนาการ ที่แสดงการวิวัฒนาการของสัตว์น้ำแต่ละชนิด แผนภูมิภาพ ที่อธิบายส่วนต่างๆของสัตว์น้ำ    แผนที่ ซึ่งจัดแสดงอาคารสถานที่ต่างๆโดยรอบของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตู้อันตรทัศน์ วัสดุจำลองสามมิติที่แสดงให้เห็นถึงของจริงมากที่สุด อย่างเช่น ตู้แสดงปะการัง โป๊ะ หอยพันธ์ต่างๆ ระบบนิเวศหาดทรายและหาดโคลน  เป็นต้น เห็นได้ชัดว่าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะไม่เพียงให้ความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลเพียงอย่างเดียวแต่ยังให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อการสอน ทำให้เราสามารถเห็นของจริง นำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อการสอนในคราวที่เราจะก้าวไปเป็นครูได้



วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์ศึกษา

ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
          
                  "คอมพิวเตอร์ศึกษา" (Computer Education) หมายถึงการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ การผลิต การใช้ การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการศึกษาวิธีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อกิจการด้านต่าง ๆ
                 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ
                             1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นต้น
                             2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษา ด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา
                             3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ
                             4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT
บทบาทของคอมพิวเตอร์เเละประโยชน์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา
        
1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration)
                       การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อมของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษา คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สรุปได้ดังนี้
                    1.1 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
                    1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติ เช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้างวิเคราะห์ข้อสอบ การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction)
                   การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน รวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน

3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI)
                     คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้